และพบภาชนะที่ฉลากระบุเป็นพลาสติกโดยเป็นยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์หรือเมลามีนปลอมถึง103 ตัวอย่าง แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 45ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านนอกด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 53ตัวอย่าง,เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในและด้านนอกด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์4ตัวอย่าง และเนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ทั้งชิ้น 1 ตัวอย่าง นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่านอกจากนี้ยังได้ตรวจวิเคราะห์เพื่อหาการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอมที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสระยะเวลา 30 นาทีตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่างเมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียสซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบเกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบโดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก (aceticacid) หรือกรดน้ำส้มความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตรอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆพบฟอร์มาลดีไฮด์ ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100มิลลิกรัมต่อลิตร38 ตัวอย่าง ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกและสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอก. 524-2539 เรื่องภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน ที่กำหนดว่าต้องไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ (ค่าต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร) “ภาชนะใส่อาหารราคาถูกที่ทำด้วยพลาสติกรูปแบบ สีสันสวยงาม ที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศโดยไม่มีการตรวจสอบมาวางจำหน่ายในท้องตลาดนั้นแม้จะมีฉลากแต่ไม่ครบถ้วนโดยผลิตภัณฑ์บางชนิดไม่ระบุชนิดของพลาสติกบางผลิตภัณฑ์ระบุว่าเป็นเมลามีน (Melamine)ซึ่งมีทั้งบอกและไม่บอกแหล่งผลิตไม่ระบุเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยสำหรับใช้บรรจุอาหารทั้งนี้เมื่อใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น อาจทำให้มีการแพร่กระจายของสารเคมีได้โดยเฉพาะสารฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง” นพ.นิพนธ์ กล่าว |